ตรวจ CT Calcium Score รู้ทันความเสี่ยง หัวใจวายเฉียบพลัน

หยุดความเสี่ยงจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน, หลอดเลือดหัวใจ เพราะหัวใจเป็นส่วนสำคัญและมีเพียงหนึ่งเดียว อย่านิ่งนอนใจเพียงเพราะไม่มีอาการ ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าปีละ 70,000 ราย หรือทุก 1 ชั่วโมงจะมีผู้เสียชีวิต 8 คน การตรวจ CT Calcium Score เป็นวิธีการตรวจสอบปริมาณหินปูนในหลอดเลือดเพื่อช่วยหาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ ทำให้รู้ทันภัยเงียบของโรคหัวใจที่อาจซ่อนอยู่และสามารถช่วยวางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุดรวมถึงการเฝ้าระวังเมื่อพบความผิดปกติ

หินปูนในหลอดเลือดเกิดจากอะไร ทำไมถึงเสี่ยงหัวใจวายได้?

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดหินปูนในหลอดเลือด คือการที่มี “หินปูน” หรือ “แคลเซียม” ซึ่งเกิดจากการเสื่อมตามธรรมชาติของแคลเซียมในร่างกายจนสะสมกลายเป็นก้อนแข็ง หรือเมื่อร่างกายเรามีการอักเสบในจุดใดจุดหนึ่ง ร่างกายก็จะสร้างแคลเซียมเพื่อปกป้องบริเวณบาดแผล ทำให้เกิดการสะสมจนกลายเป็นคราบติดแน่นและมีความหนาตัวขึ้นเรื่อยๆ ในบริเวณหลอดเลือดแดง ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลงหรือไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ และยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ที่สูบบุหรี่จัด

ใครบ้างที่ควรตรวจหินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score)

  1. ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือน
  2. ผู้ที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  3. ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ เช่น มีภาวะความดันโลหิตสูง, คอเลสเตอรอลสูง, มีโรคเบาหวาน, โรคไต รวมไปถึงผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวเกินมากๆ
  4. ผู้ที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำ

การตรวจหินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ มีวิธีตรวจอย่างไร

การตรวจหินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ เป็นการตรวจเพื่อป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจวายเฉียบพลัน และโรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถตรวจได้ด้วยการหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง โดยใช้เครื่อง X-rays คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง หรือเครื่อง CT Scan เพื่อหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือด ซึ่งจะบอกแนวโน้มว่าเราเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่

Calcium Score = 0 คือไม่มีคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงหัวใจ
Calcium Score 1-100 คือมีคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงหัวใจเล็กน้อย มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบต่ำ
Calcium Score 101-400 คือมีคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงหัวใจปานกลาง มีความเสี่ยงปานกลางถึงสูงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
Calcium Score 401 ขึ้นไป อาจมีภาวะหลอดเลือดตีบแฝงอยู่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบสูงมาก และอาจเกิดขึ้นภายใน 2-5 ปี แม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม

การเตรียมตัวเพื่อตรวจหินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score)

  1. ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนตรวจ
  2. งดชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  3. งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  4. หลีกเลี่ยงยาที่จะกระตุ้นหัวใจหรือชีพจรให้เต้นเร็วขึ้น

และการตรวจก็ใช้เวลาไม่นาน เพียงนอนยกแขนเหนือศีรษะ กลั้นหายใจเป็นช่วงๆ ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ใช้เวลาประมาณ 10 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย

ข้อดีการตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

  1. ไม่ต้องฉีดสีสวนหัวใจ ไม่ต้องฉีดยา หรือใช้สารทึบแสง
  2. ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  3. ไม่ต้องเตรียมตัวใดๆ เป็นพิเศษก่อนเข้ารับการตรวจ

เพราะภาวะหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดหัวใจอาจไม่แสดงอาการให้คุณรู้ การตรวจป้องกันจะช่วยให้แพทย์ประเมินสถานการณ์และวางแผนการรักษาหากพบความผิดปกติ

วิธีป้องกันหินปูนในหลอดเลือด

การควบคุมการเกิดหินปูนในร่างกายเป็นเรื่องที่ไม่อาจสามารถควบคุมได้โดยตรง เนื่องจากเป็นกลไกภายในร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นตามธรรมชาติ แต่เราสามารถปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันเรื่องภาวะหลอดเลือดหัวใจ หรือหัวใจวายเฉียบพลันได้ เริ่มต้นจากการดูแลร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลไม่ให้ตัวเองเกิดความเครียด รวมถึงไม่รวมที่จะตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกๆ ปี

เพราะเราไม่อาจรู้ปริมาณการสะสมของแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจ ว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด? การตรวจ CT Calcium Score หรือการตรวจหาคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจจึงสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงจากหัวใจวายเฉียบพลันที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงลดความรุนแรง เพราะการเสียชีวิตจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบในบางครั้งก็ไม่เคยแสดงอาการให้คุณรู้ตัวมาก่อน


ปรึกษาแพทย์

    แพ็คเกจแนะนำ


    Related Health Blogs

    Related Doctors