โรคหัวใจ ภัยแฝงผู้เป็นเบาหวาน

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสูงกว่า และรุนแรงกว่าคนทั่วไปมาก ทั้งยังเกิดในคนที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ อีกด้วย เพราะผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีความผิดปกติของหลอดเลือดเร็วกว่าคนปกติทั่วไป เนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีพอ จนเกิดความเสื่อมของหลอดเลือดแดง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้น้อยกว่าปกติ ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของผู้ป่วยเบาหวานนั้นสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากการสะสมของไขมัน และหินปูน รวมไปถึงเซลล์ต่าง ๆ ที่ผนังหลอดเลือดแดงชั้นในสุด พอกตัวหนาขึ้นจนทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้น้อย เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจหอบ เหนื่อย เหงื่อแตก ใจสั่น หมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น (Heart Attack) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเฉียบพลัน หรือ Sudden death เพราะอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยเบาหวานป้องกันได้

การตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score) คือ การคำนวณหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง เพื่อประเมินความเสี่ยงภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) ที่มีความคมชัด และใช้เวลาเพียง 10 นาทีในการตรวจ Calcium Scoring สามารถบอกถึงปริมาณหินปูนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจได้อย่างแม่นยำ และสามารถบอกแนวโน้มความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลันได้ โดยดูจากค่า Calcium Score หากตรวจไม่พบหินปูนที่หลอดเลือด ค่า Calcium Score จะเป็น 0 หมายความว่า คุณมีความเสี่ยงต่ำที่จะมีอาการหลอดเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในอนาคต แต่หากค่า Calcium Score สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสูงกว่า 400 นั่นแสดงว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่อภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภายในระยะเวลา 2 – 5 ปี แม้จะไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ตาม 

ดังนั้น การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบย่อมดีกว่าการปล่อยให้เกิดโรคแล้วค่อยทำการรักษา นอกจากการดูแลตัวเองด้วยการควบคุมเบาหวานให้ดีแล้วนั้น การตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Calcium Scoring) ก็เป็นหนึ่งวิธีการสำคัญในการดูแลตัวเอง เพราะจะช่วยให้แพทย์ และผู้ป่วยเบาหวาน สามารถประเมินสถานการณ์ และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมร่วมกันได้ เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน


ปรึกษาแพทย์


    Related Health Blogs

    Related Doctors