รู้ให้ทันเบาหวานขึ้นตา : ทำไมการตรวจสุขภาพตาถึงสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานและเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียการมองเห็นในระยะยาว หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ตาบอดได้ การตรวจคัดกรองเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันและชะลอความรุนแรงของโรค

ทำไมต้องตรวจเบาหวานขึ้นตา

✅ เส้นเลือดในตาเสื่อมจากน้ำตาลสูง
ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงต่อเนื่องทำให้เส้นเลือดฝอยในจอประสาทตาเสียหาย เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในตา บวม หรือเกิดเส้นเลือดผิดปกติ จนอาจสูญเสียการมองเห็น

✅ ไม่มีอาการเตือนในระยะแรก
เบาหวานขึ้นตาอาจไม่แสดงอาการจนกว่าจะรุนแรง การตรวจตาเป็นทางเดียวที่จะพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

✅ รักษาได้ผลดีกว่า หากพบเร็ว
หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก สามารถรักษาได้ด้วยเลเซอร์ ฉีดยา หรือผ่าตัด เพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็น

ผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจสายตาบ่อยแค่ไหน

หากคุณเป็นผู้ป่วยเบาหวาน การตรวจตาเป็นประจำคือสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน แต่ว่าคุณควรตรวจบ่อยแค่ไหน มาดูกัน!

เบาหวานประเภท 1 : ควรเริ่มตรวจตาหลังจากได้รับการวินิจฉัย 5 ปี และตรวจซ้ำทุกปี

เบาหวานประเภท 2 : ควรเข้ารับการตรวจทันทีหลังทราบว่าเป็นเบาหวาน และตรวจซ้ำทุกปี

หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน : ควรตรวจตาก่อนการตั้งครรภ์ หรือทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อจอประสาทตา

ตรวจเบาหวานขึ้นตาอย่างไร?

ด้วยการตรวจจอประสาทตา สามารถตรวจคัดกรองได้ 2 วิธี
🟢  ขยายม่านตาเพื่อตรวจจอประสาทตา ใช้เวลาในการตรวจอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
🟢  ใช้ถ่ายภาพจอประสาทตา กรณีไม่มีต้อกระจกหนาบังหรือไม่มีโรคที่ผิวกระจกตาดำ และๆม่มีอาการผิดปกติทางตาร่วม

สังเกตให้ดี! อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของเบาหวานขึ้นตา

หลายคนมองข้ามอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ จนกว่าจะเริ่มมองเห็นผิดปกติ แต่รู้หรือไม่? เบาหวานขึ้นตาสามารถทำลายการมองเห็นได้โดยไม่ทันตั้งตัว ลองเช็กตัวเองดูว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่

🟢  มองเห็นไม่ชัด โดยเฉพาะตอนกลางคืน หรือเวลาใช้สายตานาน ๆ
🟢  เห็นจุดดำลอยไปมา คล้ายเงาหรือหยากไย่ในสายตา
🟢  มองเห็นภาพบิดเบี้ยว หรือรู้สึกว่ามีเงาบังการมองเห็น
🟢  เห็นแสงวาบหรือเส้นหยักผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่มืด
🟢  สูญเสียการมองเห็นฉับพลัน อาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง

อันตรายของการไม่ตรวจเบาหวานจอประสาทตา หากปล่อยไว้โดยไม่ตรวจและรักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น จอประสาทตาหลุดลอก ต้อหินจากเบาหวาน และตาบอดถาวร

Tips & Tricks

เคล็ดลับดูแลดวงตาและชะลอเบาหวานขึ้นตา
🟢  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี
🟢  ออกกำลังกายเป็นประจำ
🟢  รับประทานอาหารที่ดีต่อสายตา (เช่น ผักใบเขียว ปลา ไขมันดี)
🟢  หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์


ปรึกษาแพทย์


    Related Health Blogs

    Related Doctors