การผ่าตัดสงวนเต้า : หนึ่งทางออกรักษามะเร็งเต้านม

การผ่าตัดสงวนเต้า : หนึ่งทางออกรักษามะเร็งเต้านม

การผ่าตัดสงวนเต้า : หนึ่งทางออกรักษามะเร็งเต้านม
การผ่าตัดสงวนเต้า (Breast Conserving Surgery) เป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม โดยจะมีการตัดเฉพาะเนื้อเยื่อที่มีมะเร็งออกไป พร้อมกับส่วนของเนื้อเยื่อเต้านมที่อยู่รอบข้าง เพื่อให้สามารถรักษาเต้านมไว้ได้มากที่สุด วิธีนี้มักจะใช้ร่วมกับการทำรังสีบำบัด (Radiation) หลังการผ่าตัดเพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาและลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้ง

การผ่าตัดแบบสงวนเต้า (Breast Conserving Surgery : BCS)
เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่พบก้อนในเต้านมตำแหน่งเดียว ขนาดเล็ก และไม่พบการกระจายของก้อนบริเวณเต้านม การตัดก้อนมะเร็ง และเนื้อของเต้านมปกติที่อยู่รอบ ตัดห่างจากขอบของก้อนมะเร็งประมาณ 1-2 เซนติเมตร ส่วนใหญ่จะยังคงหัวนม ฐานหัวนม และส่วนใหญ่ของเนื้อเต้านมไว้ แพทย์จะเอาเฉพาะส่วนที่เป็นก้อนเนื้อร้ายออก แต่วิธีนี้ต้องมีการฉายแสงร่วมด้วย ผลการศึกษาพบว่าอัตราการกลับมาเป็นซ้ำหรือหายเทียบเท่ากับการตัดเต้านมออกทั้งหมด หากต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองรักแร้ออกด้วย ก็จะทำการผ่าตัดเพิ่มเติมส่วนรักแร้ไปด้วยในคราวเดียวกัน แต่ในบางรายที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่และต้องมีการตัดเนื้อนมออกมาก ซึ่งอาจทำให้ขนาดเต้านมหลังผ่าตัดมีความแตกต่างกันมากหรือผิดรูป หากก้อนไม่ใหญ่มากหรือตรวจเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ การผ่าตัดสงวนเต้าก็สามารถคงรูปเต้านมไว้ได้ แต่ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่การผ่าตัดเสียเนื้อเต้านมปริมาณมาก ก็สามารถมาเสริมสร้างเต้านมได้ (ฺBreast Reconstution) ให้เต้านมเท่ากัน 2 ข้าง

ข้อดีของการผ่าตัดสงวนเต้า
ข้อดีของการผ่าตัดออกเฉพาะก้อนมะเร็งและเนื้อนมรอบๆ คือการผ่าตัดที่น้อยกว่า สามารถเก็บรูปทรงและความรู้สึกของเต้านมเดิมได้ดีกว่านอกจากนี้การฟื้นตัวจากการผ่าตัดและการนอนโรงพยาบาลยังน้อยกว่า ไม่สูญเสียความมั่นใจ

ข้อเสียของการผ่าตัดสงวนเต้า
ข้อเสียของการผ่าตัดออกเฉพาะก้อนมะเร็งและเนื้อนมรอบๆ ได้แก่
1. หลังผ่าตัดต้องมีการฉายแสงประมาณ 5 – 7 สัปดาห์ 5 วันต่อสัปดาห์
2. มีโอกาสผ่าตัดอีกครั้งหลังผลชิ้นเนื้อออก หากผลชิ้นเนื้อกลับมาในอีกหนึ่งสัปดาห์ให้หลัง แล้วพบว่ายังมีเซลล์มะเร็งที่ขอบของชิ้นเนื้อที่ตัดออกมา แบบนี้แสดงว่าอาจจะยังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ในเต้านม ดังนั้นต้องทำการผ่าตัดใหม่อีกครั้งโดยตัดเนื้อนมรอบๆ ให้กว้างขึ้น หรืออาจพิจารณาตัดเต้านมออกเลย
3. ในผู้ป่วยที่ยีนส์ผิดปกติ (ฺBRCA-1, BRCA-2) ไม่ควรผ่าตัดสงวนเต้า
4. เนื่องจากยังเหลือเนื้อนมในนั้นอยู่จพชำเป็นต้องอัลตร้าซาวด์และแมมโมแกรมร่วมกันต่อตามแพทย์แนะนำ

ใครบ้างที่เหมาะกับการผ่าตัดสงวนเต้า?
การผ่าตัดสงวนเต้าเหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเหมาะสมของการรักษาในแต่ละรายอย่างละเอียด โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น
● ขนาดและตำแหน่งของก้อนมะเร็ง
ก้อนมะเร็งต้องมีขนาดไม่ใหญ่มาก และอยู่ในตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดออกได้โดยไม่กระทบต่อรูปร่างของเต้านม
● จำนวนก้อนมะเร็ง
ผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็งเพียงก้อนเดียว มีโอกาสที่จะได้รับการผ่าตัดสงวนเต้าได้มากกว่า
● การแพร่กระจายของมะเร็ง
หากแพร่กระจายไปแค่ต่อมร้ำเหลืองบริเวณรักแร้สามารถทำได้และยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเพื่อจัดการกับมะเร็งเต้านม แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายบุคคลว่าผู้ป่วยท่านใดควรทำการผ่าตัดเต้านมแบบใด ผ่าตัดเสริมได้หรือไม่ ควรทำวิธีใดจึงจะเหมาะสมและมีความปลอดภัยสูงสุด


ปรึกษาแพทย์


    Related Health Blogs

    Related Doctors