ตรวจสุขภาพเพื่ออะไร
- เพื่อให้ทราบสภาวะสุขภาพของตนเอง ว่ามีความสมบูรณ์ หรือบกพร่อง หรือมีความเสี่ยงขนาดไหน เมื่อเทียบกับเพศ วัย อาชีพ
- เป็นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ถ้ารู้เร็ว รักษาก่อน หรือป้องกันก่อน จะสามารถลดความสูญเสีย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เวลา และทุน ทรัพย์
- เป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต ด้านสุขภาพ ว่าควรปรับเปลี่ยนอย่างไร ให้เหมาะสม มีสุขภาพดี มีอายุวัฒนะ ลดปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งตนเองและครอบครัว
บริการตรวจสุขภาพแบบ One Stop Service
- ตรวจสุขภาพประจำปี ตามความเหมาะสมของอายุหรือตรวจสุขภาพเฉพาะโรค
- ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ก่อนเข้าเรียน ฯลฯ
- ตรวจสุขภาพทางชีวอนามัย
- ตรวจสุขภาพคนหางานที่จะไปทำงานต่างประเทศ
- ตรวจสุขภาพเพื่อออกใบรับรองแพทย์
หลักในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพ
1. เลือกรายการตรวจสุขภาพให้เหมาะสม ตามวัตถุประสงค์
- การตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับบุคคลทั่วไป ของคนที่ไม่เคยมีโรคประจำตัวมาก่อนหรือไม่เคยทราบ เป็นการเลือกโปรแกรมที่ เหมาะกับวัย ว่าในแต่ละวัยมีความเสี่ยงอย่างไร
- การตรวจสุขภาพสำหรับคนที่มีโรคประจำตัวหรือมีอาการใด ๆ ที่เป็นที่สงสัยว่าจะมีโรค เป็นการเลือกโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่อาจ จะต้องมีรายการตรวจพิเศษที่ชี้ชัดเฉพาะโรคลงไป
- การตรวจสุขภาพ ตามความเสี่ยงทางประวัติทางกรรมพันธ์ เช่น โรคมะเร็ง ความเสี่ยงโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- การตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน เป็นการเลือกโปรแกรมการตรวจที่แตกต่างไปตามลักษณะสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงในการทำงาน
- การตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน ตามกฏเกณฑ์ของหน่วยงาน หรือ ตามที่แพทย์เฉพาะทางด้ายอาชีวอนามัยแนะนำ
- การตรวจสุขภาพเพื่อทำประกันชีวิต ตรวจตามเงื่อนไขของบริษัทและกรมธรรม์ระบุ
- การตรวจสุขภาพเพื่อเดินทางไปต่างประเทศ ตามหลักเกณฑ์ของแต่ละประเภทแตกต่างกัน
- ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เป็น การตรวจสุขภาพทั้งสุภาพสตรี และสุภาพบุรุษ เพื่อให้ทราบโรคที่สามารถถ่ายทอด ทางกรรมพันธ์ เพื่อปรึกษาแพทย์ในการมีบุตร หรือค้นหาโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อการรักษาก่อน หรือ การปฏิบัติตัวในการป้องกันที่ถูก ต้อง
2. เลือกรายการตรวจให้ครอบคลุมความเสี่ยงในการเกิดโรคของเพศและวัย
ในแต่ละช่วงวัยจะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ดังนั้น ควรตรวจสุขภาพเพื่อดูว่าตนเองเสี่ยงต่อภาวะอะไร โดยควรตรวจอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
- อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรมีการตรวจไขมันในกระแสเลือด และตรวจหินปูนที่เกาะผนังหลอดเลือดหัวใจ อย่างน้อยปีละครั้ง
- อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรมีการตรวจไขมัน และคลื่นหัวใจ
- อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรมีการตรวจค้นหามะเร็งลำไส้ ด้วยการส่องกล้องหรือวิธีอื่น ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์
- สุภาพสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป หรือ มีคู่แล้ว ควรมีการตรวจมะเร็งปากมดลูก
- สุภาพสตรีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจหามะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
- สุภาพบุรุษ อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก
ข้อแนะนำและการเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ
1. การเตรียมตัวก่อนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพ
- ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพโปรดงดน้ำ อาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง
- ในกรณีนัดหมาย กรุณาพบเจ้าหน้าที่ก่อนเวลานัดหมายอย่างน้อย 10 นาที
- กรุณานำผลการตรวจสุขภาพ รายงานด้านการแพทย์ หรือประวัติสุขภาพอื่นๆ ที่ท่านมีอยู่เพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์
- ในกรณีทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย กรุณาสวมเสื้อผาที่สบายและนำรองเท้าสำหรับวิ่งหรือรองเท้ากีฬามาด้วย
* ผู้ที่เลือกโปรแกรมตรวจแบบต้องงดน้ำ งดอาหาร ควรมารับการตรวจตั้งแต่ 7.30 น. เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำหรือ เกิดอาการหิว
2. ข้อแนะนำเพื่อความสะดวกในการใช้บริการตรวจสุขภาพ
กรณีที่ไม่ได้ทำการนัดหมาย กรุณายื่นบัตรประชาชนเพื่อลงทะเบียนใช้บริการตรวจสุขภาพที่ แผนกตรวจสุขภาพ ชั้น 3 ได้ตั้งแต่ เวลา 7.00 น. เป็นต้นไป
- ถ้าหากท่านได้ทำการนัดไว้ล่วงหน้าแล้ว กรุณาติดต่อที่แผนกก่อนเวลานัด 10 นาที
- หากท่านมีรายงานผลการตรวจสุขภาพปีที่ผ่านมา กรุณานำมาด้วยเพื่อประโยชน์ในการปรึกษาแพทย์
- ควรเลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย และ เก็บรักษาเครื่องประดับต่าง ๆ ไว้ที่บ้าน เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดของโรง พยาบาลสำหรับเข้าตรวจโดยเครื่องมือพิเศษ เช่น การเข้าเครื่องตรวจทางรังสีวิทยา เป็นต้น
- ถ้าหากท่านไม่สามารถมาตรวจได้ตามเวลาที่ได้นัดหมายไว้ กรุณาโทร.แจ้งการเลื่อนนัดกับเจ้าหน้าที่ ศูนย์ตรวจสุขภาพ เบอร์โทร.038–770-200-8 ต่อ 3325,3326 หรือ 088–5000-205
3. ขั้นตอนในการรับบริการ
- ลงทะเบียนเพื่อทำประวัติ
- เลือกโปรแกรมตรวจ และ คำแนะนำในการตรวจสุขภาพจากพยาบาลประจำศูนย์ตรวจสุขภาพ
- รับการวัดสัญญาณชีพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดสาย ตา และเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดตรวจของโรงพยาบาลเพื่อเข้าเครื่องตรวจพิเศษ เพื่อตรวจการทำงานของระบบต่าง ๆ (ตามที่ท่านเลือก) เช่น ตรวจ คลื่นหัวใจ เอกซเรย์ อัลตราซาวด์ วัดความหนาแน่นของมวลกระดูก ตรวจคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ฯลฯ ** ในกรณีตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง ท่านจะต้องกลั้นปัสสาวะ เพื่อให้มองเห็นภาพชัด หลังจากอัลตราซาวด์เสร็จแล้ว จึง ค่อยไปเก็บตัวอย่างปัสสาวะ ภายหลัง **
- เจ้าหน้าที่จะดำเนินการให้ท่านไปตรวจตามรายการที่ต้องตรวจขณะที่งดอาหาร และน้ำ ก่อน หลังจากตรวจรายการดังกล่าวนี้เสร็จสิ้น ทุกรายการแล้ว ท่านสามารถรับประทานอาหาร ก่อนเข้าตรวจรายการอื่น ๆ ต่อไป การตรวจในกระบวนการต่าง ๆ และการพบแพทย์ตรวจร่าง กาย ท่านสามารถใช้บริการได้ในศูนย์ตรวจสุขภาพ (one stop service)
- การตรวจทั้งกระบวนการ โดยเฉลี่ยท่านจะใช้เวลาประมาณ 1ชั่วโมง 30 นาที และสามารถรอรับสมุดบันทึกผลการตรวจกลับได้หลังการ ตรวจเสร็จ 15 นาที ยกเว้นการตรวจโดยเครื่องมือพิเศษ หลายรายการ และ ต้องได้รับการตรวจร่างกายและแปรผลโดยแพทย์เฉพาะทาง หลายสาขา เช่น แพทย์โรคหัวใจ แพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร ทันตแพทย์ แพทย์ หู คอ จมูก ตา เป็นต้นซึ่งท่านจะได้รับการตรวจ ณ ศูนย์ บริการเฉพาะทาง อาจใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
- กรณีที่ท่านต้องการให้ส่งสมุดรายงานผลตรวจสุขภาพให้ทางไปรษณีย์ กรุณาทบทวนที่อยู่ที่ถูกต้อง ชัดเจนกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ตรวจสุขภาพท่าน จะได้รับสมุดรายงานภายใน 1 สัปดาห์