ข้อมูลแพทย์

ดร.นพ.เกษม ใช้คล่องกิจ

  • สาขา:ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
  • ภาษา:ไทย อังกฤษ
สาขา
  • แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลับเชียงใหม่
  • แพทยสภา (โรงพยาบาลตำรวจ)
  • ปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

ด้านเวชศาสตร์การกีฬาในต่างประเทศ (อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรเลีย) การกระตุ้นและใช้สารต้องห้ามทางกีฬา

ด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย การกระตุ้นและใช้สารต้องห้ามทางกีฬา

บทสัมภาษณ์แพทย์

ดร.นพ.เกษม ใช้คล่องกิจ

ภารกิจหลักๆ ทุกวันนี้คุณหมอได้ดูแลรักษาคนไข้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ รวมถึงเส้นประสาท ทั้งจากการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยทั่วไป รวมถึงภาวะบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุต่างๆ

หลังจาก นพ.เกษม ใช้คล่องกิจ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้ว คุณหมอได้ศึกษาต่อวุฒิบัตรด้านกระดูกและข้อ ที่โรงพยาบาลตำรวจ และต่อเนื่องในระดับปริญญาเอก ในสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย (Sport Science) ที่มหาวิทยาลัยบูรพา คุณหมอได้เล่าถึงประสบการณ์ในการศึกษาว่า…

“ในสมัยที่เป็นนักศึกษาแพทย์ หมอชอบเล่นกีฬารักบี้ ซึ่งก็จะมีรุ่นพี่ที่เป็นหมอด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อเป็นคนที่ช่วยดูแลเรื่องการบาดเจ็บของนักกีฬาในทีม ซึ่งพี่ท่านนี้ก็จะเป็นเหมือน IDOL ของทีมที่น้องๆ จะเคารพรัก หมอเองก็อยากเจริญรอยตามในการเป็นแพทย์ด้านนี้ของพี่เขาก็เลยเลือกศึกษาด้านกระดูกและข้อที่โรงพยาบาลตำรวจ ปัจจุบันรุ่นพี่ท่านนี้ก็ยังทำหน้าที่ดูแลนักกีฬาทีมชาติทั้งในระดับเอเชี่ยนเกมส์และระดับโอลิมปิกด้วย

ในส่วนการไปดูงานที่ต่างประเทศนั้น หมอมีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานทางด้านกระดูกและข้อโดยตรงที่ประเทศอังกฤษ เยอรมัน และออสเตรเลีย และในด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาก็ได้ไปดูงานที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ หมอคิดว่าการได้ไปศึกษาได้เห็นวิทยาการต่างๆ ในทางการแพทย์ จะทำให้เรามีความรู้เพิ่มเติม และได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดความเชี่ยวชาญในการรักษามากขึ้น”

ดูแลรักษาคนไข้ด้านกระดูกและข้อ และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

ภารกิจหลักๆ ทุกวันนี้คุณหมอได้ดูแลรักษาคนไข้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ รวมถึงเส้นประสาท ทั้งจากการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยทั่วไป รวมถึงภาวะบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุต่างๆ…

“ที่โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา คนไข้ของหมอราว 60% จะมาด้วยอาการบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดในท้องถนน โดยเฉพาะกับมอเตอร์ไซค์ รองลงมาก็เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หกล้ม ลื่นล้มจากพื้นต่างระดับ ตกจากที่สูง ส่วนที่พบบ่อยอีกอย่าง คือการบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกาย ซึ่งหมอก็มีโอกาสได้ดูแลคนไข้นักกีฬาในพื้นที่พัทยา บางแสน ตั้งแต่ระดับเด็กเล็ก ระดับเยาวชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย จนถึงนักกีฬาระดับชาติ นักกีฬาอาชีพของสโมสรต่างๆ ส่วนคนไข้อีกกลุ่มหนึ่งราว 40% จะอยู่ในกลุ่มโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ปัญหาหมอนรองกระดูก เส้นเอ็นอักเสบ มีผังผืด เป็นต้น” 

ทำงานเป็นทีม เพื่อผลลัพธ์ที่ดีร่วมกัน

คุณหมอเกษม ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม เฉกเช่นเดียวกับหัวใจสำคัญของการเป็นนักกีฬา นั่นก็คือ “One for All, all for one หนึ่งเดียวเพื่อทั้งหมดและทั้งหมดเพื่อหนึ่งเดียว” เพราะท้ายที่สุด การทำงานเป็นทีมจะเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กร มีความเข้มแข็งและเป็นหนึ่งเดียวกัน สามารถเติบโตไปด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับเกียรติยศและความภูมิใจไปด้วยกัน…

“อย่างในโรงพยาบาล หมอคิดว่าไม่ใช่แค่แพทย์เท่านั้นที่มีบทบาทสำคัญ เพราะแพทย์คนใดคนหนึ่งจะทำงานเองทั้งหมดไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของหลายๆ ฝ่ายที่มาช่วยเหลือสนับสนุนกัน ทุกคนเปรียบเสมือนฟันเฟืองแต่ละตัวที่จะช่วยกันขับเคลื่อนการบริการและการรักษา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนไข้”

หลากบทบาทหน้าที่ในฐานะแพทย์

นอกจากการเป็นแพทย์รักษาคนไข้แล้ว คุณหมอเกษม

ยังมีบทบาทในสายงานการศึกษาและกิจกรรมกีฬาต่างๆ คือการเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นกรรมการที่ปรึกษาด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในภาคตะวันออกรวมทั้งเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับเวชศาสตร์การกีฬา และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬาของการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้วางระบบ medical service ในการจัดกิจกรรมวิ่งมาราธอน เช่น งานบางแสน 21 และดูแลการบาดเจ็บของนักกีฬาในโครงการกิจกรรมกีฬาต่างๆ อีกด้วย คุณหมอได้ยกตัวอย่างเคสคนไข้ว่า…

หมอเคยดูแลนักกีฬาวิ่งระดับเยาวชนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นนักวิ่งที่เป็นความหวังในระดับจังหวัดที่จะผลักดันให้พัฒนาฝีมือไปสู่ระดับชาติ คนไข้รายนี้มีอาการบาดเจ็บ โดยเวลาวิ่งจะเกิดอาการปวดร้าวคล้ายว่าจะมีปัญหามาจากหลัง ซึ่งก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์กันไปต่างๆ นานาว่าอาจจะมีปัญหาเรื่องหมอนรองกระดูก แต่เมื่อหมอได้ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียด หมอพบว่าปัญหาที่แท้จริงเกิดจากการที่กล้ามเนื้อด้านซ้ายกับด้านขวาไม่เท่ากัน ไม่สมดุลกัน เวลาวิ่งเร็วมากๆ จึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและบาดเจ็บ

เคสนี้หมอได้วางแนวทางการรักษา โดยการสร้างความสมดุลให้กับกล้ามเนื้อ ซึ่งมีทั้งโปรแกรมการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัด หมอได้ใช้ทักษะความรู้ทั้งด้านกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ รวมถึงด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ผนวกกับประสบการณ์ในด้านการอออกกำลังกายของหมอเองมาช่วยเสริมในการดูแลรักษา ซึ่งผลการรักษาก็ออกมาดี สุดท้ายคนไข้ก็สามารถกลับไปแสดงศักยภาพในการวิ่งได้อย่างเต็มความสามารถ และไม่เจ็บซ้ำอีก”

ข้อมูลสุขภาพ

แพทย์ผู้เกี่ยวข้อง