การทำเด็กหลอดแก้ว
ข้อบ่งชี้ในการทำเด็กหลอดแก้ว IVF / ICSI
ฝ่ายหญิง
1. ท่อนำไข่ผิดปกติ เช่น ท่อนำไข่อุดตัน ท่อนำไข่บวมน้ำ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และท่อนำไข่เสียหาย
2. ฮอร์โมนเพศผิดปกติ ทำให้ไข่ตกไม่ตก ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ไข่ตกไม่เรื้อรัง (แต่ไม่ตั้งครรภ์)
3. พยายามจะมีบุตรมาแล้วมากกว่า 3 ปี โดยไม่ได้ป้องกันด้วยวิธีใดเลย แต่ก็ไม่ตั้งครรภ์
4. มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือไม่ เพื่อจะได้หาหนทางแก้ปัญหาไม่ให้ลูกที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้วมีความผิดปกติทางพันธุกรรมไปด้วย์
5. ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป นอกจากว่ามีปัจจัยร้ายแรงที่ทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้จริงๆ เช่น รังไข่เสื่อมก่อนวัย เคยทำหมันด้วยการผูกท่อนำไข่หรือกำลังอยู่ในระหว่างเจ็บป่วยที่ส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ เป็นต้น
ฝ่ายชาย
1. ฝ่ายชายมีความผิดปกติของเชื้ออสุจิ, คุณภาพของตัวอสุจิต่ำมาก, ไม่พบอสุจิ
2. มีปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จึงไม่สามารถมีบุตรได้หรือมีโอกาสที่จะมีบุตรน้อยมาก
ขั้นตอนที่ 1 : วันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน
• วันแรกของการมีประจำเดือน โทรศัพท์นัดหมาย ที่หมายเลข 08-1000-7500
• วันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน
- ตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์ฮอร์โมน และดูการทำงานของรังไข่ FSH, LH, Estradiol, Progesterone, AMH
- อัลตราซาวด์ผ่านทางช่องคลอด เพื่อดูรังไข่ (ตามความเห็นแพทย์)
- เริ่มฉีดฮอร์โมนกระตุ้นไข่ FSH Hormone Injection ต่อเนื่อง 10 - 12 วัน
ขั้นตอนที่ 2 : การกระตุ้นไข่ และ ติดตามการเจริญเติบโตของไข่
ขั้นตอนที่ 3 : การเก็บไข่ผ่านทางช่องคลอด (OPU)
Ovum Pick Up : OPU
• เป็นหัตถการเล็ก ทำภายใต้การดมยาสลบ
• งดน้ำงดอาหารหลัง 6-8 ชั่วโมง ก่อนทำหัตถการ
• แพทย์จะทำการเก็บไข่โดยการใช้คลื่นอัลตราซาวด์ช่วยชี้จุดเก็บไข่
และทำการดูดไข่ ผ่านทางปลายเข็มเล็กๆมาไว้ที่หลอด
• ใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที ขึ้นอยู่กับจำนวนไข่
** หลังจากเก็บไข่บางราย อาจมีอาการปวดหน่วงท้อง หรือ มีอาการบวมในวันเก็บไข่ อาการเหล่านี้จะหายเองไม่กี่วัน
ขั้นตอนที่ 4 : การเก็บรวบรวมไข่ และ การร่อนเปลือกไข่
ขั้นตอนที่ 5 : การเก็บอสุจิโดยการหลั่งเอง หรือ เก็บจากลูกอัณฑะ
การเก็บอสุจิจากลูกอัณฑะ
เป็นหัตถการผ่าตัดเล็ก ทำภายใต้การดมยาสลบ จะไม่รู้สึกเจ็บใดๆ
ข้อบ่งชี้ในการทำ
• ไม่พบตัวอสุจิ และทำการทดสอบแล้วว่ามีอุสจิในลูกอัณฑะ
• น้ำเชื้อที่หลั่งออกมามีคุณภาพต่ำมาก ร่วมกับมีประวัติในการทำเด็กหลอดแก้วมาก่อนด้วยการหลั่งไม่ตั้งครรภ์หลายรอบ
ขั้นตอนที่ 6 : การผสมไข่กับอสุจิ
ขั้นตอนที่ 7 : การตรวจสอบการปฏิสนธิ
ขั้นตอนที่ 8 : การเลี้ยงตัวอ่อน และ การเจริญเติบโตของตัวอ่อน
ขั้นตอนที่ 9 : การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน
โครโมโซม (Chromosome)
การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย
การทำเด็กหลอดแก้ว IVF ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากปัญหาความผิดปกติของตัวอ่อน
ส่วนใหญ่ตัวอ่อนที่ผิดปกติ มีโอกาสต่ำในการฝังตัว ก่อให้เกิดการแท้งได้ ร้อยละ 50 ของตัวอ่อนนั้น มีความผิดปกติทางพันธุกรรมซ่อนอยู่แม้ว่าทำเด็กหลอดแก้ว สาเหตุของการแท้งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ พบว่ามีความผิดปกติของโครโมโซม
ความผิดปกติของตัวอ่อน บางครั้ง สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ พบว่า เกิดความพิการแต่กำเนิด เช่น กลุ่มดาวน์ซินโดรม
การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมก่อนฝังตัว (PGS)
ขั้นตอนที่ 10 : การย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง
เทคโนโลยีการแช่แข็งตัวอ่อน เป็นวิธีที่มีความสำคัญในการประสบความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว IVF เพราะวิธีที่ได้ผลสูงสุดในวิธีการรักษามีบุตรยาก
ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง
ขั้นตอนการย้ายตัวอ่อน (Embryo Transfer : ET)
การปฏิบัติตัวหลังย้ายตัวอ่อน